คำแนะนำในการติดตั้งและการใช้งานถังเก็บน้ำบนดิน

คำแนะนำในการติดตั้งและการใช้งานถังเก็บน้ำบนดิน

การติดตั้ง แท้งค์น้ำ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณารายละเอียด เพื่อให้ใช้งานได้ยืนยาว สะดวกในการติดตั้งและประหยัดค่าใช้ ควรจะติดตั้งบริเวณใด

ส่วนประกอบของถัง

1. ฝาถัง
2. หน้าแปลงท่อน้ำเข้า
3. ตัวถังเก็บน้ำ
4. หน้าแปลงท่อน้ำออก
5. หน้าแปลงระบายน้ำ

ข้อแนะนำในการติดตั้ง

1. บ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์ที่ไม่ได้เดินท่อ สำหรับการตั้ง แท้งค์น้ำ หลังบ้าน จำเป็นต้องตั้งแท้งค์ที่หน้าบ้าน ซึ่งควรตั้งฝั่งเดียวกับมิเตอร์น้ำหน้าบ้าน เพราะจะเดินท่อจากมิเตอร์น้ำเข้าแท้งค์ได้สะดวกไม่เกะกะ

2. ทาวน์เฮ้าส์ที่เดินท่อสำหรับการตั้ง แท้งค์น้ำ หลังบ้านไว้แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการขนย้าย แท้งค์เข้าติดตั้งได้หรือไม่ ซึ่งต้องยกข้ามกำแพงด้านหลังบ้าน หากไม่สามารถเข้าได้ ต้องเลือกใช้แท้งค์ขนาดเล็ก ซึ่งยกเข้าทางประตูบ้าน โดยทั่วไปแท้งค์ขนาด 70 ซม.จะเข้าประตูได้ บางบ้านอาจจะใหญ่กว่านี้ขึ้นกับขนาดประตู

3. กรณีทาวน์เฮ้าส์หลังริม, บ้านแฝด,บ้านเดี่ยว ที่สามารถเดินท่อน้ำจากมิเตอร์ไปยังด้านหลังได้ ควรตั้ง แท้งค์น้ำ ไว้หลังบ้านฝั่งเดียวกับมิเตอร์ แท้งค์จะได้ไม่เกะกะหน้าบ้านและไม่ต้องเดินท่อไกล

4. กรณีบ้านที่ท่อน้ำเข้าบ้านอยู่ใต้พื้นคอนกรีตหน้าบ้าน อาจจะตั้งแท้งค์บริเวณหน้าบ้าน(หากไม่เกะกะเกินไป) จะทำให้ไม่ต้องเดินท่อไกล ถ้าตั้งแท้งค์หลังบ้านต้องเดินท่อไปเข้าแท้งค์และเดินท่อกลับมาหน้าบ้าน ซึ่งจะสิ้นเปลืองค่าท่อและไม่สวยงาม

5. จุดตั้งแท้งค์ควรมีพื้นที่ตั้งปั๊มน้ำ ระยะห่างไม่เกิน 2 เมตร และปั๊มควรอยู่ในบริเวณที่กันแดด กันฝน ถ้าตั้งปั๊มไกลจะทำให้ปั๊มทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองท่อ และไม่สวยงาม

6. ควรตั้งแท้งค์น้ำห่างจากกำแพงรั้วหรือผนังบ้าน อย่างน้อย 5 เซนติเมตร

7. หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์ใต้หลังคาที่มีน้ำหยดลงแท้งค์

8. หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์บนพื้นที่ลาดเอียง

9. บริเวณที่ตั้งแท้งค์ควรมีพื้นที่ด้านบนเหนือแท้งค์น้ำ เพียงพอต่อการเปิดฝา ติดตั้งอุปกรณ์ และการดูแลรักษา

10. ควรตั้งแท้งค์บนพื้นคอนกรีต (พื้นทั่วไปหนา 10 เซนติเมตร ไม่ควรวางแท้งค์น้ำขนาดเกิน 2,000 ลิตร)
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์